องค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา

ข้อมูลติดต่อ
การประเมินคุณธรรมฯ ITA
ข้อมูลพื้นฐาน อบต.
โครงสร้างการบริหาร
แผนป้องกันการทุจริต
แผนงานและงบประมาณ
ข้อมูลสำหรับประชาชน
สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์
ออนไลน์ทั้งหมด 4 คน
หมายเลข IP 3.129.247.196
คุณเข้าชมลำดับที่ 4,718,753

แบบสำรวจความคิดเห็น
คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเว็บไซต์ใหม่ของ อบต.
ดีมาก
ดี
ปานกลาง
น้อย
น้อยที่สุด
แผนพัฒนาตำบล
ร้องเรียนการทุจริต


  หน้าแรก     กองคลัง 

กองคลัง
กองคลัง  

คำแนะข้อนำในการติดต่อกรณีต่างๆ ในองค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง

  • คำแนะนำในการติดต่อเรื่อง ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
  • คำแนะนำในการติดต่อเรื่อง ภาษีบำรุงท้องที่
  • คำแนะนำในการติดต่อเรื่อง ภาษีป้าย
  • คำแนะนำในการดำเนินยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคาร รื้อถอนอาคารดัดแปลง
  • อาคาร เคลื่อย้ายอาคาร และเปลี่ยนการใช้อาคารในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
  • ประเภทกิจการขออนุญาต จากส่วนสาธารณสุข
  • หลักฐานที่ต้องนำมาประกอบในการยื่นชำระภาษีอากรต่างๆ

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น

หลักการสำคัญ

  1. ต้องมีทรัพย์สิน อันได้แก่ 
    1. โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น 
    2. ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น 
  2. ไม่เข้าข่ายยกเว้น ตามมาตรา 9, 10 และมาตรา 19

ขั้นตอนการชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน

  1. เจ้าของทรัพย์สินหรือผู้รับมอบอำนาจหน้าที่รับแบบแสดงรายการทรัพย์สิน (แบบ ภ.ร.ด. 2) ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ 
  2. ซึ่งทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ภายใน เดือนกุมพาพันธ์ของทุกปี 
  3. พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกแบบเจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด. 8) 
  4. ผู้รับการประเมิน ต้องชำระเงินภายใน 30 วันนับถัดจากวันได้รับแบบแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด. 8)

เอกสารที่ต้องนำมาแสดง

  1. ใบเสร็จรับเงินของปีก่อน

หลักเกณฑ์การประเมินค่ารายปี

  1. ทรัพย์สินให้เช่า ค่าเช่าสมควร ถือค่าเช่าคือ ค่ารายปี 
  2. ทรัพย์สินให้เช่า ค่าเช่าไม่สมควร หรือหาค่าเช่าไม่ได้ ประเมินโดยเทียบเคียง 
    1. ค่ารายปีที่ล่วงมาแล้ว 
    2. ค่ารายปีของทรัพย์สินที่ให้เช่า 
  3. กรณีเทียบเคียงแบบ 2 ไม่ได้ อาจใช้มูลค่ทรัพย์สินมาประกอบการประเมินค่ารายปีได้

การอุทธรณ์

หากผู้รับแบบประเมินไม่พอใจในการประเมินให้รับคำร้องขออุทธรณ์ ภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแบบแจ้งการประเมิน (ภ.ร.ด. 8)

อัตราโทษของของค่าปรับ

  1. ผู้ใดละเลยไม่ยื่นแบบแสดงรายการ มีความผิดโทษ ปรับไม่เกิน 200 บาท และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังไม่เกิน 10 ปี 
  2. ผู้ใดยื่นแบบแสดงรายการไม่ถูกต้องตามความจริง หรือไม่สมบูรณ์มีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน 
  3. หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเรียกเก็บภาษีย้อนหลังได้ไม่เกิน 5 ปี 
  4. ถ้าชำระค่าภาษีเกินกำหนด 30 วัน นับจากวันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมินให้เสียเงินเพิ่ม ดังนี้ 
    1. ไม่เกิน 1 เดือน เสียเพิ่ม 2.5% 
    2. เกิน 1 เดือน แต่ไม่เกิน 2 เดือน เพิ่ม 5 % 
    3. เกิน 2 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน เพิ่ม 7.5 % 
    4. เกิน 3 เดือน แต่ไม่เกิน 4 เดือน เพิ่ม 10 % 
    5. เกิน 4 เดือนขึ้นไป ให้ยึดอายัดหรือขายทอดตลาดทรัพย์สินโดยมิต้องขอให้ศาลสั่งออกหมายยึด

ภาษีบำรุงท้องที่

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดิน ผู้ครอบครองที่ดินอัตราภาษี จะเสียตามราคาปานกลางของที่ดินมีหลายอัตราขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่โดยตรง ที่ดินว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์จะต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่าของอัตราปกติ

การยื่นแบบแสดงรายการที่ดินและชำระภาษี

  1. ให้เจ้าหน้าที่ของที่ดิน, ผู้ครอบครองที่ดินยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5)และชำระภาษีปีละครั้ง ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม - 30 เมษยน ของทุกปี 
  2. ผู้ที่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินใหม่หรือเนื้อที่ดินเปลี่ยนแปลงให้ยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท. 5) ภายใน 30   วัน นับตั้งแต่วันที่โอนกรรมสิทธ

เอกสารที่ต้องนำมา

  1. โฉนดที่ดินและสำเนา 
  2. ใบเสร็จรับเงินของปีก่อน

การลดหย่อน และการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่

  1. ที่ดินที่แปลงที่เจ้าของปลูกบ้านอยู่อาศัยไม่ทำการค้าหรือให้เช่าแต่อย่างใดทั้งสิ้น ลดหย่อนได้ 5 ไร่ ส่วนที่เกินต้องเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด 
  2. ที่ดินที่เจ้าของปลูกบ้านให้เช่า หรือปลูกบ้านทำการค้า และได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้ว จะได้รับการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ในส่วนที่อาคารนั้นตั้งอยู่

อัตราโทษและค่าปรับ

  1. ไม่ยื่นแบบภายในกำหนดเสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษี   เว้นแต่มายื่นแบบแสดงรายการที่ดินก่อนเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบเสียเงินเพิ่ม 5 % 
  2. ยื่นรายการไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะเสียภาษีน้อยงต้องเสียภาษีเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม 
  3. ชี้เขตแจ้งจำนวนเนื้อที่ดินไม่ถูกต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ลดน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มอีกหนึ่งเท่าของภาษีบำรุงท้องที่ที่ประเมินเพิ่มเติม 
  4. ชำระภาษีเกินกำหนดวันที่ 30 เมษายน ต้องเสียเงินเพิ่มร้อยละ 24 ต่อปี ของจำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษี  เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือน

ภาษีป้าย
ประเภท

  1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร 
  2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอำษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพหรือเครื่องหมายอื่น คิดอัตรา 20 บาท ต่อ ตารางเซนติเมตร 
  3. ป้ายดังต่อไปนี้ คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
    • ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดหรือไม่ 
    • ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ได้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ 
    • ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้ว เสียภาษีต่ำกว่า 200 บาท ให้เสียในอัตรา 200 บาท

การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี

  1. เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายตั้งแต่ 2 มกราคม ถึง 31 มีนาคม ของทุกปีโดยเสียภาษีเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรก ในยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ภายใน 15 วัน และให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่ วันเริ่มติดตั้ง หรือแสดงจนถึงสิ้นปี และเสียภาษีป้ายเป็นรายงวดๆ ละ 3 เดือนของปี 
  2. ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่ 
  3. ถ้าเสียภาษีป้ายเกิน 3,000 บาทจะขอผ่อนชำระเป็นสามงวดเท่าๆ กันก็ได้

การอุทธรณ์

ถ้าผู้มีหน้าที่เสียภาษีแจ้งการประเมินแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องให้ยื่นกำร้องอุทธรณืต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามแบบ ภ.ป. 4  ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

อัตราโทษและค่าปรับ

  1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเดือนมีนาคมหรือหลังติดตั้งป้าย 15 วัน เสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษี 
  2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษีประเมินเพิ่มเติม 
  3. ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินเสียภาษีเงินเพิ่ม 2 % ต่อเดือนของค่าภาษี 
  4. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 บาท 
  5. ผู้ใดรู้อยู่แล้ว หรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยคำเท็จหรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้ายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000-50,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ

การยื่นขออนุญาตก่อสร้างอาคารรื้อถอนอาคาร ดัดแปลงอาคาร เคลื่อนย้ายอาคาร และเปลี่ยนการใช้อาคาร
ขั้นตอนการยื่นแบบรายการ

  1. คำขออนุญาตก่อร้างอาคารตามแบบ ข.
  2. หลักฐานของผู้ขออนุญาตก่อสร้าง 
    1. สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 1 ฉบับ 
    2. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ 
  3. หนังสือมอบอำนาจตามกฎหมายปิดอากรแสตมป์ 30 บาท (กรณีอื่นดำเนินการให้) 
  4. ถ้าเป็นนิติบุคคลต้องแนบหลักฐานของนิติบุคคลและแสดงหลักฐานผู้มีอำนาจทำการแทนในนามนิติบุคคล 
  5. สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ทำการขออนุญาต 
  6. หนังสือยินยอมให้ทำการปลูกสร้างอาคารในที่ดิน (เมื่อที่ดินที่ทำการขออนุญาตปลูกสร้างมิได้เป็นเจ้าของอาคาร) 
  7. หนังสือตกลงทำผนังร่วมกัน (เมื่ออาคารปลูกสร้างชิดเขตที่ดินผู้อื่นน้อยกว่า 50 ซม.) 
  8. แบบแปลนก่อสร้างอาคารจำนวน 3 ชุด พร้อมทั้งรายการประกอบแบบโดยทุกแผ่นลงนามผู้เขียน ผู้ออกแบบ ผู้คำนวณ 
  9. รายการคำนวณโครงสร้าง จำนวน 1 ชุด พร้อมเซ็นรับรองให้รายการคำนวณทุกแผ่น
  10. ถ้าเป็นอาคาร ในข่ายควบคุมตาม พ.ร.บ. วิชาชีพวิศวกรรมจะต้องแนบสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชา ชีพวิศวกรรม 
  11. ถ้าเป็นอาคารในข่ายควบคุมตาม พ.ร.บ. วิชาชีพสถาปัตยกรรมจะต้องแนบสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 
  12. ถ้าเป็นอาคารในข่ายควบคุมจะต้องแนบหนังสือผู้ควบคุมงานจากผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือสถาปัตยกรรมควบคุม 
  13. ถ้าเป็นอาคารในข่ายจัดสรรที่ดิน ให้มีใบอนุาตหรือใบรับรองจากคณะกรรมการจัดสรรที่ดินมาประกอบด้วย 
  14. ถ้าอาคารเป็นอาคารสูงอยู่ในเขตปลอดภัยในการเดินอาคารจะต้องแนบใบอนุญาตกรมการขนส่งทางอากาศประกอบ ฯลฯ 
  15. ถ้าอาคารอยู่ในข่ายการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม จะต้องแนบใบอนุญาตการจัด ทำรายงานดังกล่าว ประกอบในการยื่นขออนุญาตด้วย 
  16. ระยะดำเนินการ ตรวจพิจารณาและออกใบอนุญาตหรือมีหนังสือแจ้งคำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตของผู้ยื่นคำขอทราบภายใน 45 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ 
  17. กรณีมีความจำเป็นที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่สามารถออกใบอนุญาต ภายในกำหนดเวลาตามข้อ 16 ให้ขยายเวลาออกไปได้อีกไม่เกินสองคราว คราวละไม่เกินสี่สิบห้าวัน 
  18. กรณีเจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตหรือมีคำสั่งไม่ขออนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งให้ผู้รับใบอนุญาตทราบโดยไม่ชักช้า

ประเภทกิจการขออนุญาต จากส่วนสาธารณสุข

  1. ประเภทกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535
    1. กิจการเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ 
    2. กิจการที่เกี่ยวกับสัตว์และผลิตภัณฑ์ 
    3. กิการที่เกี่ยวกับอาหาร เครื่องดืม น้ำดื่ม 
    4. กิจการเกี่ยวกับ ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การแพทย์ เครื่องสำอางค์ ผลิตภัณฑ์ชำระล้าง 
    5. กิจการที่เกี่ยวกับการเกษตร 
    6. กิจการที่เกี่ยวกับโลหะ 
    7. กิจการที่เกี่ยวกับยานยนต์ เครื่องจักร หรือเครื่องกล 
    8. กิจการที่เกี่ยวกับไม้ 
    9. กิจการที่เกี่ยวกับบริการ 
    10. กิจการที่เกี่ยวกับ หิน ดิน ทราย ซีเมนต์ หรือวัตถุคล้ายคลึง 
    11. กิจการที่เกี่ยวกับ ปิโตเลียม ถ่านหิน สารเคมี 
    12. กิจการอื่นๆ ที่ประกาศเป็นกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  2. การค้าอาหารในสถานที่เอกชน 
  3. การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล 
  4. แผงลอย 
  5. ผู้เร่ขาย

หลักฐานที่ต้องนำมา ประกอบในการยื่นชำระ ภาษีอากรต่างๆ

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน / สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีหน้าที่เสียภาษี
  2. สำเนาโฉนดที่ดิน / สัญญาซื้อขายทรัพย์สิน 
  3. สัญญาเช่าทรัพย์สิน / สัญญาเช่าที่ดิน 
  4. ทะเบียนพาณิชย์ / ทะเบียนการค้า / ทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม 
  5. ใบอนุญาตปลูกสร้างอาคาร 
  6. หนังสือรับรองห้างหุ้นส่วนจำกัด / บริษัทจำกัด / งบดุล 
  7. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ไม่ได้มาดำเนินการเอง)

 

สาส์นจากนายกฯ

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง
นายวรากร พุฒิพงศ์พยอม
บริการ
การให้บริการ
แบบสอบถาม
กฏหมายและระเบียบของกิจการสภา
ปฏิทินกิจกรรม
เมษายน 2567
อา พฤ
31 1 2 3 4 5 6
7 8 9 10 11 12 13
14 15 1617 18 19 20
21 22 23 24 25 26 27
28 29 30 1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
วันที่ 16 เมษายน 2567
ผลิตภัณฑ์ประจำตำบล
รวมลิงค์ต่างๆ
กฎหมายน่ารู้
อบต.ในเครือข่าย

เว็บไซต์บริการ
 
องค์การบริหารส่วนตำบลสำพะเนียง
อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา
Tel : 0-4448-5047   Fax : 0-4448-5047
Email : samphaniang@gmail.com
Copyright © 2020 by OPSTECH All Right Reserved.